เจมส์ วิลเลียม แลร์
เจมส์ วิลเลียม แลร์ | |
---|---|
เจมส์ วิลเลียม แลร์ ในชุดเครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะ | |
เกิด | 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 |
เสียชีวิต | 28 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | (90 ปี)
ชั้นยศ | พันตำรวจเอก |
พันตำรวจเอก เจมส์ วิลเลียม แลร์ หรืออีกมีชื่อหนึ่งคือ บิลล์ แลร์ (อังกฤษ: James William Lair; 4 กรกฎาคม 1924 - 28 ตุลาคม 2014) เป็นเจ้าหน้าที่กึ่งทหารของสำนักข่าวกรองกลางจากกองกิจกรรมพิเศษ และเป็นผู้ที่เสนอให้แนวความคิดและริเริ่มตั้งหน่วยพลร่มขึ้นในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]แลร์เกิดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1924 เกิดในเมื่องฮิลตัน รัฐโอคลาโฮมาโดยกำเนิด เมื่ออายุ 3 ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองบอร์เกอร์ รัฐเท็กซัส จนกระทั่งปี ค.ศ. 1940 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองเวโก ในรัฐเท็กซัส เช่นเดียวกัน
การศึกษา
[แก้]แลร์จบการศึกษาระดับโรงเรียนมัธยม ที่เมืองเวโก ในปี ค.ศ. 1941 ขณะที่อายุยังน้อยมากซึ่งอายุยังไม่ครบ 17 ปี และเป็นเวลาที่กำลังเริ่มเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี แม่ของเขาบอกว่าเขายังเด็กเกินไปที่จะเรียนต่อระดับวิทยาลัย แต่ความจริงแล้วเขารู้ว่าเป็นปัญหาของเรื่องที่แม่เขาไม่มีเงินทุนพอที่จะให้เขาใช้ในการเรียนต่อได้
แลร์ ได้ไปรายงานตัวที่วอชิงตันในเดือนกรกฎาคม เพื่อรับการฝึกซึ่งการฝึกแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
- เป็นการเรียนรู้และฝึกในเรื่องการข่าวทั่วไป ทำการฝึกในรัฐแมริแลนด์ ส่วนการฝึกเรื่องปัญหาต่าง ๆ ใช้พื้นที่ถนนในกรุงวอชิงตัน
- เป็นการฝึกที่เกี่ยวข้องกับงานกองโจรและการโดดร่ม ทำการฝึกที่ค่ายเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย
ซึ่งการฝึกทั้ง 2 ขั้นตอนนั้นเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951
การทำงาน
[แก้]แลร์เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1951 ซึ่งแลร์ได้ฝึกตำรวจตระเวนชายแดนตามมาตรฐานหน่วยรบพิเศษ เดิมจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานไทยโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนของจีน ตำรวจหน่วยใหม่นี้ทำหน้าที่ลาดตระเวนตามชายแดนของไทยจนกระทั่งเกิดการสู้รบในพระราชอาณาจักรลาว ปฏิบัติการตอบโต้การรัฐประหารของร.อ. กองแล วีระสาน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1960 หน่วยของแลร์ได้จัดหาผู้ประสานงานด้านการสื่อสารอย่างลับ ๆ ที่จำเป็นสำหรับการต่อต้านการรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960
เมื่อก่อตั้งขึ้นในประเทศลาว แลร์ก็เริ่มค้นหาวังเปา ทันที ด้วยความช่วยเหลือของแลร์ วังเปาได้ระดมนักรบกองโจร 30,000 คนเพื่อต่อสู้ในสงครามกลางเมืองลาว
อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ยในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1964 ตามด้วยกองทหารอเมริกันชุดแรกที่ยกพลขึ้นบกในเวียดนามในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1965 ทำให้สงครามลุกลามบานปลาย
ยศตำรวจ
[แก้]- พ.ศ. 2504 : พันตำรวจโท[1]
การถึงแก่กรรม
[แก้]บิลล์ แลร์ ถึงแก่กรรมอย่างสงบที่เมืองเมริเดียน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2014 สิริอายุ 90 ปี ร่างของแลร์ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จะทำการจัดให้มีพิธีเป็นทางการอย่างสมเกียรติโดยนำไปเก็บไว้ ณ สุสานอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นสุสานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[2]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
อ้างอิง
[แก้]- Ahern, Thomas L. Jr., Undercover Armies: CIA and Surrogate Warfare in Laos. Center for the Study of Intelligence, 2006, classified control no. C05303949.
- Conboy, Kenneth and James Morrison, Shadow War: The CIA's Secret War in Laos. Paladin Press, 1995, ISBN 0-87364-825-0.
- Scott, Peter Dale, American War Machine: Deep Politics, the CIA Global Drug Connection, and the Road to Afghanistan. Rowman & Littlefield Publishers, 2010. ISBN 144220589X, 9781442205895.
- Warner, Roger. Back Fire: The CIA's Secret War in Laos and Its Link to the War in Vietnam. Simon & Schuster, 1995. ISBNs 0684802929, 9780684802923.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๑, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒